เหล่ามือใหม่หัดขับ หรือคนมีรถมักสงสัยว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไร เคลมยังไง ทำไมต้องต่อทุกปี และหากไม่ต่อ หรือกรณีพบว่าหมดอายุแล้วยังไม่ได้ต่อ จะเจอบทลงโทษอะไรรึเปล่า แล้วจะต่ออย่างไร ? หากคุณมีคำถามเหล่านี้อยู่ ต้องการคำตอบก็อ่านต่อได้เลย! เพราะในบทความนี้จะคลายทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ ให้คุณเอง

พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ?

พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Vehicle Insurance) ตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดให้เจ้าของรถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด

ทำไมถึงต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ?

  • พ.ร.บ. รถยนต์เป็นกฎหมายภาคบังคับ : กรณีไม่ทำพ.ร.บ. รถยนต์ จะถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากในกรณีขับขี่รถยนต์ที่ไม่ทำ พ.ร.บ. จะถูกปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • ได้รับความคุ้มครอง : ขอบเขตของความคุ้มครองพ.ร.บ. รถยนต์ นั้นจะคุ้มครองบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุโดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก

พ.ร.บ. รถยนต์ ในปี 2566 คุ้มครองอะไรบ้าง ?

พ.ร.บ. รถยนต์ ให้ความคุ้มครอง 2 อย่าง ได้แก่ ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทนซึ่งมีรายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น

ค่ารักษาพยาบาล

สูงสุด 30,000 บาท

กรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ

สูงสุด 35,000 บาท

เงินชดเชยกรณีเกิดหลายกรณีรวมกัน

สูงสุด 65,000 บาท

 

ค่าสินไหมทดแทน

ค่ารักษาพยาบาล

สูงสุด 80,000 บาท

กรณีสูญเสียอวัยวะ (นิ้ว)

200,000 บาท

กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน

250,000 บาท

กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน

500,000 บาท

กรณีเสียชีวิต

สูงสุด 500,000 บาท

ชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล (ผู้ป่วยใน)

วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 4,000 บาท)

การเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ทำอย่างไร ? 

หากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้เกิดขึ้นแล้วสามารถทำตามขั้นตอนการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ ได้ด้านล่างนี้

1.แจ้งความหรือบันทึกประจำวันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

ขั้นแรกให้เราไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวัน และเก็บใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันเอาไว้

2.เข้ารับการรักษากรณีบาดเจ็บหรือสูญเสีย

กรณีบาดเจ็บหรือสูญเสียให้ทำการเข้ารับการรักษาจากโรงพยายาล และขอใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน

3.จัดเตรียมเอกสารในการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์เบื้องต้น

  • สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ประสบภัย (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
  • สำเนาใบขับขี่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่)
  • ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

จัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมในการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ตามกรณีบาดเจ็บ

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

จัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมในการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ตามกรณีเสียชีวิต

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ

จัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมในการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์กรณีใบมรณบัตร

  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

จัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมในการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์กรณีทุพพลภาพ

  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบเหตุ
  • ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ประสบเหตุได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

จัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมในการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล ผู้ป่วยใน

  • ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือรับรองการรักษาตัว เป็นผู้ป่วยใน
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย

4. ส่งเอกสารให้บริษัทที่ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์

เมื่อจัดเตรียมเอกสารเรียบร้อย สามารถจัดส่งเอกสารเบื้องต้นและเอกสารเพิ่มเติมกรณีที่เราประสบมาแก่บริษัทที่เราซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ มาได้เลย

พ.ร.บ. รถยนต์ ในปี 2566 ราคาเท่าไหร่ ?

  • รถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง : 600 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง : 1,100 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง : 2,050 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง : 3,200 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 40 ที่นั่ง : 3,740 บาท

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้อะไรบ้าง ?

การต่อพรบ รถยนต์ สามารถทำได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือบริษัทประกันภัยทุกแห่ง โดยจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  1. สำเนาทะเบียนรถ
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกัน
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกัน
  4. ใบขับขี่ของผู้เอาประกัน (กรณีผู้เอาประกันไม่ใช่เจ้าของรถ)
  5. เงินค่าธรรมเนียมพรบ รถยนต์

โปรดจำไว้ว่าการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ สามารถทำล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน ส่วนขั้นตอนการเราจะขอนำเสนอวิธีที่ละเอียดในบทความถัดไป

พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุต้องทำอย่างไร ?

เมื่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่เราครอบหมดอายุจะถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายทันที เนื่องจากพ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดไว้ว่ารถยนต์ทุกคันจะต้องทำ ตัวอย่างตามด้านล่างนี้

หากปล่อยให้พ.ร.บ. รถยนต์ ขาดเป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือขาดไม่เกิน 1 ปี จะยังไม่เสียค่าปรับในการต่อแต่อย่างใด แต่อาจโดยนปรับในแง่ของภาษีรถยนต์ย้อนหลังเป็น 1% ต่อเดือน

ในกรณที่ขาดการต่ออายุพ.ร.บ. รถยนต์ เป็นระยะเวลานานเกิน 2 ปี ต้องมีการนำรถไปตรวจสภาพและเดินเรื่องด้วยตนเองที่ขนส่ง โดยดำเนินการต่อทะเบียนรถและเสียค่าปรับ

ในกรณที่ขาดการต่ออายุพ.ร.บ. รถยนต์ เป็นระยะเวลานานเกิน 3 ปี เลขทะเบียนรถของคุณจะถูกระงับ ต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ พร้อมกับเสียค่าปรับ ซึ่งอาจมีการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลัง

คลายข้อสงสัยสั้นๆ ระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์ กับประกันรถยนต์

ความแตกต่าง

ประกันรถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์

ความคุ้มครอง

ผู้ขับขี่และรถยนต์

ผู้ขับขี่

วงเงินคุ้มครอง

ขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือก

กฏหมายได้กำหนดไว้แล้ว

กฏหมาย

ไม่บังคับทำ

บังคับทำ

และทั้งหมดนี้คือ ข้อสงสัยหรือคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับพ.ร.บ. รถยนต์ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังต้องการคำตอบเกี่ยวกับพ.ร.บ. รถยนต์ ไม่มากก็น้อยนะ ในบทความหน้าเราจะไปดูกันว่าวิธีและขั้นตอนการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ มีอะไรบ้าง ทำอย่างไร?