จากบทความที่แล้วที่ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไร หมดอายุทำไง ? กันไปแบบครบถ้วนแล้ว บทความนี้จึงจะขอเป็นภาคต่อที่ขอสานให้จบเกี่ยวกับพ.ร.บ. รถยนต์ โดยจะแนะนำวิธี ขั้นตอนการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ ว่ามีอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไร ? ให้ทุกคนได้ทราบกัน
พ.ร.บ.รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- สมุดเล่มจริงหรือสำเนาทะเบียนรถ
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (กรณีที่รถมีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป)
ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ในปี 2566 ?
รถยนต์โดยสาร
รถยนต์โดยสาร |
อัตราค่าเบี้ยประกันภัยต่อปี |
รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง |
600 บาท |
รถยนต์โดยสาร 7-15 ที่นั่ง |
1,100 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 15-20 ที่นั่ง |
2,050 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 20-40 ที่นั่ง |
3,200 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง |
3,740 บาท |
รถยนต์ไฟฟ้า |
600 บาท |
รถกระบะ / รถบรรทุก
รถกระบะ / รถบรรทุก |
อัตราค่าเบี้ยประกันภัยต่อปี |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) |
900 บาท |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3-6 ตัน |
1,220 บาท |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6-12 ตัน |
1,310 บาท |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน |
1,680 บาท |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน |
2,320 บาท |
รถยนต์ประเภทอื่น ๆ
รถยนต์ประเภทอื่น ๆ |
อัตราค่าเบี้ยประกันภัยต่อปี |
หัวรถลากจูง |
2,370 บาท |
รถพ่วง |
600 บาท |
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร |
90 บาท |
ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ อย่างไร ?
ก่อนอื่นการต่อพ.ร.บ.รถยนต์นั้นสามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้ 1) ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ที่เซเว่น กรมขนส่ง ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า และเคาน์เตอร์เซอร์วิส 2) ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเราจะขอแนะนำขั้นตอนการต่อออนไลน์ซึ่งเป็นช่องทางที่สะดวกที่สุด และสามารถทำได้ด้วยตยเอง!
1. ขั้นตอนแรกในการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ให้เราเข้าไปที่ eservice.dlt.go.th
1.1 ในกรณีที่ไม่เคยสมัครสมาชิกกรมการขนส่งทางบก ให้เรากดลงทะเบียนสมาชิกใหม่
1.2 กรอกข้อมูลส่วนตัวพื้นฐานให้ครบถ้วย รวมทั้งที่อยู่ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือ และอีเมล
2. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อย ระบบจะนำเรามายังหน้าแรกอีกครั้ง ให้เรานำเลขบัตรประจำตัวประชาชนและรหัสผ่านมาใช้เข้าสู่ระบบ
3. กดชำระภาษีรถประจำปี และกดชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
4. ค้นเลขทะเบียนรถตนเองโดยการเลือกประเภทรถ จังหวัด เลขทะเบียนรถ และกดค้นหา
5. เมื่อกดค้นหาแล้วจะปรากฏข้อมูลรถของเราขึ้นมา ให้เรากดเลือกและกด ยื่นชำระภาษี
6. ในกรณีที่ไม่เคยลงทะเบียนรถมาก่อนให้กดปุ่ม ลงทะเบียนรถ และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนจากนั้นกดบันทึก และกด ยื่นชำระภาษี
คำถามที่พบบ่อย ?
ต่อพรบรถยนต์ ใช้เวลากี่วัน ?
เริ่มนับจากวันที่ชำระเงินภาษีรถยนต์ยนต์ จะใช้เวลาทั้งหมด 1-2 วัน
และทั้งหมดนี้ก็คือข้อควรรู้และขั้นตอนการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง หากใครกำลังสงสัยว่า พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ? ก็สามารถย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าของเราได้ที่นี่เลย! หวังว่าวิธีที่เรานำมาฝากในบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่คุณไม่มากก็น้อยนะ!